วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

The Psychology of investing

ย่อบางส่วนจากหนังสือ “The Psychology of investing”
John R. Nofsinger 2nd edition 2005

นลท. ทุกคนคงเคยได้ยินคำแนะนำจากกูรู ว่าให้ “ซื้อถูก ขายแพง”   แต่...ทำไมถึงทำได้ยากในแง่ปฏิบัติ  ก่อนอื่นขอให้รู้จัก คำเหล่านี้
Overconfidence ความมั่นใจมากไป ทำให้คนประเมินความรู้ความสามารถในการควบคุมสถานะการณ์ ของตนเองสูงเกินจริง  และประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริง  (บทที่2ในหนังสือจะพูดเรื่องนี้ทั้งบท)
House-money effect = ผลหลังจากประสบกับการได้กำไร จะมี overconfidence เลยตัดสินใจเสี่ยงมากขึ้น
Snake-bite effect (risk-aversion effect) = ผลหลังจากประสบกับการขาดทุน คนจะเต็มใจน้อยลงหรือหลีกเลี่ยงในการเสี่ยง
Disposition effect = ผลจาก การกลัวความเศร้าเสียใจ และ การค้นหาความภูมิใจของนลท.  ทำให้ นลท.มีแนวโน้มจะขายหุ้นกำไรเร็วเกินไป และถือหุ้นขาดทุนนานเกินไป

ใน ขณะที่หุ้นขึ้น หรือคุณมีกำไร  House-money effect     ทำให้ คุณมั่นใจมากขึ้นและมองหาการลงทุนที่เสี่ยงกว่า ซึ่งแสดงออกโดยการซื้อหุ้นที่ราคาได้เพิ่มสูงแล้ว (ซื้อแพง,โลภ)    
ถ้า หุ้นตกคุณจะรู้สึก   Snake-bite effect และต้องการหนีมัน คุณจึงตัดใจขาย (ขายถูก ,กลัว)   การผสมกันของ house-money และ snake-bite  ทำให้คุณทำสิ่งตรงข้ามกับที่คำแนะนำบอก “ซื้อถูก ขายแพง”  
.. คือคุณจะ “ซื้อแพง ขายถูก”  หรือถ้าไม่ขาย (disposition effect)... ก็คือติดดอย
ผลกระทบต่อคนหมู่มากก็จะกลายเป็นผลกระทบต่อตลาด  House-money ทำให้หุ้นราคาแพงมากกว่าควรในช่วงเริ่มฟองสบู่(ขาขึ้น)
และ snake-bite ทำให้ราคาหุ้นตกต่ำมากกว่าควรในช่วงฟองสบู่แตก(ขาลง) = overreaction

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น