วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เซน วันนี้

เซนคือวิธีแห่งการรู้แจ้งอันสมบูรณ์ ใครก็ตามที่ได้ปฏิบัติเซน ย่อมสามารถเข้าถึง การรู้อย่างฉับพลัน และใช้ชีวิตใหม่ในสถานะแห่งพุทธะ
เซนอยู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง เป็นชีวิตตามธรรมดาๆ แต่ก็ไม่ใช่ธรรมดาตามธรรมดาที่เราเข้าใจกันอยู่โดยปกติทั่วไป
ที่จริงเซนนั้นก็เหมือนกับการตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน กินอาหาร อาบน้ำ ล้างถ้วย ล้างชาม อันเป็นกิจวัตรสามัญประจำวันของคนเรา ดำเนินไปตามครรลองที่มันควรจะเป็นเท่านั้นเอง
วิธีการปลุกเร้ากายใจให้สดชื่นนั้น คือ ถึงเวลาหิวก็กินข้าว ถึงเวลาอ่อนเพลียก็นอน ซึ่งเป็นท่วงทำนองของธรรมชาติ ที่ตัวตนจะดำรงอยู่ ณ ที่นี้อย่างแท้จริงอยู่เสมอ
จงใช้ชีวิตอยู่กับเหตุ ทิ้งผลไว้ให้แก่กฎอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล
จุดมุ่งหมายของเซน คือการทำให้เราตระหนักว่าไม่มีตัวตน
ใช้ชีวิตอยู่ในโลก แต่อย่าให้ฝุ่นของโลกเกาะติดได้ เหมือนดอกบัวเกิดในโคลนตม แต่ไม่ติดโคลนตมฉันนั้น
ชีวิตนี้แสนสั้น เราย่อมไม่อาจที่จะใช้ชีวิตที่มีเวลาอยู่นี้ ไปในการขบคิดใคร่ครวญเรื่องทางอภิปรัชญา อย่างไม่มีวันสิ้นสุด เพราะอภิปรัชญาไม่อาจนำไปสู่สัจจะอันยิ่งใหญ่ได้เลย
ชีวิตของเราจะสูญเปล่าไป หากเราหลีกหนีการใช้ชีวิตตามความจริง เมื่อไปอยู่ในโลกแห่งความคิดอันล้ำลึกแล้ว เราก็จะเป็นเพียงวิญญาณพเนจร หากยังวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่ามีหรือไม่มี ชีวิตก็จะสูญเปล่าไปเสีย
ให้ดูทุกข์ และความไม่มีทุกข์ ที่มีอยู่ในใจ จึงจะเข้าถึงธรรมที่ปราศจากทุกข์ได้
ปาฏิหาริย์ที่แท้ อยู่ในชีวิตประจำวันธรรมดาๆ นี่เอง ให้กิจวัตรประจำวันดำเนินไปตามครรลองของมันอย่างเป็นธรรมชาติ ชีวิตคุณมีอยู่เพียงขณะเดียว อดีตก็ละไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น
เดี๋ยวนี้ คือสิ่งที่เรา เป็น มันไม่สามารถจะเป็น เป้าหมาย หรือ ภาวะ ที่เราจะต้อง มุ่ง ไปให้ถึง เดี๋ยวนี้ คือการกระทำ หรือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏอยู่ในขณะนี้ ก่อนที่ ความคิด จะปิดบังมันไว้เสีย
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำผิด เราไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด
ทุกๆ ครั้งที่มีการเตือนตนเองให้ถ่อมตน อัตตาของตนก็จะขยายทั้งแง่ขอบเขตและกำลัง ความถ่อมตนที่แท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้นึกถึงความถ่อมตน วิปัสสนานั้นไม่ใช่การให้ความสำคัญแก่ตนเอง หรือการปฏิเสธละทิ้งตนเอง
มันจะมีประโยชน์อะไร ที่จะมานั่งอภิปรายกันว่า ต้นหญ้าและต้นไม้ตรัสรู้ได้อย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ว่า ตัวท่านเองนั่นแหละ จะสามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้อย่างไร
ยึดมั่นคราใดเป็นทุกข์ครานั้น การปฏิบัติทุกอย่างต้องมาลงที่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดหรือเรื่องใดที่ปฏิบัติแล้ว ยิ่งทำให้เกิดยึดมั่นถือมั่นมากยิ่งขึ้น ถือว่าผิดแล้ว
การตรัสรู้ธรรมหรือไม่ หาได้อยู่ที่การปฏิบัติเข้มงวด หรือเคร่งครัดเป็นเวลานานไม่ แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ต่างหาก
ระหว่าง รู้ กับ ทำ นั้นช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน

คำของปรมาจารย์รุ่นแรกสุดของเซ็น มีอยู่ 4 ประโยค
1. พ้นจากการบัญญัติ
2. เข้าถึงไม่ได้ด้วยการเรียนตามตำรา
3. ลัดตรงเข้าสู่ใจ
4. มองดู (รู้) พุทธะก็เกิด
ฮวงโป

...............
ไม่มีอะไรจะต้องลุถึง เพียงแต่ลืมตาตื่นเท่านั้นสิ่งๆ นั้นก็จะปรากฏแก่เธอ
(การลืมตาตื่นเพื่อเห็นสิ่งที่เต็มบริบูรณ์อยู่แล้วตรงหน้านั้น ไม่ได้หมายถึงการเริ่มลอกกิเลสเป็นชั้นๆ จนลอกหมดแล้วจึงตื่น แต่จิตนั้นเอง คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทันทีที่มีสติสัมปชัญญะ ไม่หลง ไม่เผลอ จิตปราศจากการครองคลุมของโมหะ เมื่อนั้นคือการตื่น หรือการรู้ ที่เราพูดถึงกันบ่อยๆ นั่นเอง
จิตที่ปราศจากโมหะ มีความรู้ตัว จะเห็นประจักษ์ธรรมต่อหน้าต่อตา เริ่มจากธรรมในฝ่ายที่เกิดดับ หรือสังขตธรรม จนปัญญาแก่รอบ สามารถปล่อยวางธรรมในฝ่ายที่เกิดดับได้ ก็จะเข้าไปรู้จักธรรมในฝ่ายที่ไม่เกิดไม่ดับ
ดังนั้น ทันทีที่รู้ ก็คือทันทีที่ตื่น พ้นจากภาวะหลับฝันทั้งที่ลืมตา และทันทีที่ตื่น จิตก็ถึงความเบิกบาน อันเป็นคุณสมบัติของจิตเอง ไม่ใช่รู้แล้วลอกกิเลสเป็นชั้นๆ ไปจนหมด จึงตื่น
จิตรู้ หรือจิตตื่น มีความเบิกบานในตัวเอง ปลอดภัยอยู่ท่ามกลางความแปรปรวนและไฟกิเลส เหมือนลิ้นงู ในปากงู เหมือนดอกบัว ที่ไม่เปื้อนด้วยโคลนตม)

คนพาล ย่อมหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก แต่ไม่หลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง คนฉลาดย่อมหลีกเลี่ยงความคิดปรุงแต่ง แต่ไม่หลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ภายนอก
ท่านฮวงโป เดินเข้าไปในหอพระ เห็นรินไซ (หลินจิ) กำลังนั่งสัปหงกอยู่ ท่านฮวงโปเลยเอาไม้เท้าไปกระทุ้งพื้น พอรินไซเห็นก็แกล้งทำเป็นหลับต่อ พระอีกองค์นึงนั่งอยู่ใกล้ๆแต่ไม่สัปหงกกลับโดนท่านฮวงโปดุเอาว่า เอาแต่นั่งฟุ้งซ่านอยู่ได้ แล้วฮวงโปก็หันไปชมรินไซที่กำลังสัปหงกอยู่ว่า ปฏิบัติดี
รินไซ

...............
เหมือนคนคิดว่าหัวของตัวเองหาย เมื่อเขาหยุดมองหาหัวของตัวเองอย่างเอาเป็นเอาตาย เขาพบว่าไม่มีสิ่งใดต้องค้นหา

ก็รินไซนี่แหละครับ ที่ไปหาฮวงโปแล้วโดนกระบองตี เรื่องนี้ที่ผมเคยถามหลวงอา เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจเลย ท่านว่าธรรมะไปถามคนอื่นได้ไง หาได้ที่ตัวเอง
ตอนหลังท่านฮวงโปก็มอบให้รินไซสืบทอดคำ สอนต่อ ท่านฮวงโปให้คนใช้ไปเอาตราประทับที่ได้จากอาจารย์ไปจ้างมาให้รินไซ (ตราประทับที่แสดงว่าท่านผู้นั้นสมควรได้รับการสืบทอดคำสอนไปยังรุ่นต่อไป สืบทอดกันมาเป็นรุ่นๆ พอฮวงโปสั่งคนใช้ให้ไปเอามา ท่านรินไซก็บอกให้คนใช้เอาไฟมาเผาด้วย
โพธิธรรม

...........
อะไรเกิดขึ้นที่จิตก็ให้รู้ไป ไม่ต้องไปแบ่งแยกให้ค่าว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด ถ้าหลุดพ้นจากการให้ค่าพวกนี้ได้ ก็จะเข้าใจจิตได้ครับ
เค็งเซ็น

..........
สิ่งที่ตาเธอเห็นอยู่นั่นแหละคือความจริง (ปรมัตถ์) ธรรมทั้งปวงก็คือปรมัตถ์ เธอจะต้องหาอะไรอีกเล่า
จ้าวโจ

............
บางที ก็มีพระมาถามว่า 'ผมถึงจุดที่ไม่ยึดถืออะไรแล้ว ผมจะต้องทำอย่างไรครับ' ท่านก็ตอบว่า 'ก็ทิ้งมันไว้ตรงนั้นสิ'

มีพระมาถามว่า 'ถ้าบรรลุถึงนิพพานแล้ว จิตจะเป็นยังไงครับ' ท่านอาจารย์บอกว่า 'ทำให้ถึงตรงนั้นก่อน แล้วฉันจะตามไปบอก'
พระองคนึงถามอาจารย์จ้าวโจว่า 'ที่เมืองจีนใครเป็นอาจารย์องค์แรกครับ' ท่านจ้าวโจว่า 'ท่านโพธิธรรม' 'แล้วท่านอาจารย์เป็นอาจารย์อยู่ในลำดับที่เท่าไรครับ' 'ฉันอยู่นอกลำดับ' 'อยู่นอกลำดับแล้วตกลงอยู่ไหนครับ' 'อยู่ในหูเธอ'
เข้าใจว่า พระองค์นั้นโดนดุเรื่องถามอยู่นั่นแหละ ก็พูดให้ฟังอยู่นี่แล้วยังไปสงสัยอะไรมากมาย คืออาจารย์องค์นี้ท่านมักจะใช้คำพูดให้ศิษย์หลุดออกมาจากความสงสัย อ่านดูศิษย์ท่านแต่ละคนช่างซักช่างถามเสียเหลือเกิน
โจซู

.............
มีพระรูปหนึ่งไปถามท่านโจชูว่า ตัวเองปฏิบัติแบบนี้แล้วถูกรึเปล่า ท่านโจชูบอกว่าเริ่มปฏิบัติได้ก็ดีแล้วนี่ (ท่านไม่ตอบว่าถูกหรือผิดเลย) คำสอนพระท่านส่วนใหญ่จะเน้นให้ลูกศิษย์ละวางการให้ค่าสิ่งต่างๆ ที่เป็นคู่ๆ ว่า นี่ดี นี่ไม่ดี นี่ก้าวหน้า นี่ถอยหลัง อะไรทำนองนี้
Zen in the Martial Arts

............
สติที่เป็นสติสัมโพชฌงค์ ก็คือสติที่มีเองทุกขณะ โดยไม่ต้องออกแรงตั้งใจให้มีสติ และมีอยู่เองโดยไม่มีความต้องการที่จะให้มีสติ เพราะเห็นว่าสตินั้นมีประโยชน์

 วันทิพย์

........
การบรรลุธรรม หมายความอย่างง่ายๆ ถึงการตระหนักในความกลมกลืนกัน อันไม่อาจแบ่งแยกออกได้ในชีวิตประจำวัน ความรู้อันแท้จริงแล้วต้องผ่านประสบการณ์ตรง เราจะอธิบายรสน้ำตาลได้อย่างไร การบรรยายด้วยวาจาไม่อาจให้ความรู้สึกได้ การจะรู้รส ต้องมีประสบการณ์กับมัน ปรัชญาของศิลปแขนงนี้ ไม่ใช่ว่าจะครุ่นคิดออกมาได้เอง จะต้องมีประสบการณ์ ดังนั้น จึงช่วยไม่ได้ที่ถ้อยคำเป็นเพียงการนำความหมายไปได้บางส่วนเท่านั้น
Joe Hyams

.............
รู้จักคนอื่นเป็นความฉลาด รู้จักตนเองเป็นการตรัสรู้

 เล่าจื๊อ

.............
เมื่อคุณแสวงหา คุณไม่อาจพบมัน
บททายของเซน

...............
ต้องเรียนรู้วิธีดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่อดีตหรืออนาคต เซนสอนว่า ชีวิตต้องยึดขณะปัจจุบัน โดยการอยู่กับปัจจุบัน คุณต้องสัมพันธ์กับตนเอง และสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ ต้องไม่ทำให้พลังของคุณกระจายไป ต้องพร้อมเสมอในปัจจุบัน ไม่มีความเสียใจต่ออดีต โดยการคิดถึงแต่อนาคต ก็ทำให้ปัจจุบันเบาบางลง เวลาที่จะดำรงอยู่คือ "เดี๋ยวนี้"
อาจารย์หาน

...........
ล่องลอยไปตามกระแส ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงปล่อยให้จิตใจเป็นอิสระอยู่ ด้วยความเป็นกลาง ด้วยการรับรู้สิ่งที่กระทำอยู่นั้น นี่เป็นสิ่งสูงสุด
จวงจือ

.........
จิตใจไม่ควรอยู่ที่ใดเป็นการเฉพาะ
ต้ากวน

............
เวลาทำอะไร ทำให้ดี ขอให้ทำให้ไม่มีที่ติ ทำให้สุดความสามารถของคุณ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญที่สุดด้านศิลปการต่อสู้ จะใช้เวลาหลายปีเรียนรู้เทคนิค และการเคลื่อนไหว นับร้อยท่าจนชำนาญ แต่ในยกหนึ่งๆ แชมป์จะใช้เทคนิคสี่หรือห้าอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก เทคนิคเหล่านี้ เป็นเทคนิคที่เขาทำได้ดีเลิศ ไม่มีที่ติ ทั้งเขารู้ว่า เขาพึ่งเทคนิคเหล่านั้นได้
หยุดเปรียบเทียบตัวเองตอนสี่สิบห้ากับ ยี่สิบหรือสามสิบ อดีตเป็นมายา คุณต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และยอมรับว่า ตัวเองเป็นอะไรตอนนี้ สิ่งที่คุณขาด คือความยืดหยุ่น กับความปราดเปรียว ที่คุณต้องสร้างเสริมขึ้นมาด้วยความรู้ และการฝึกหัดอย่างคงเส้นคงวา
บรุซ ลี 

.......................
บทความจาก
http://www.wimutti.net/niranam/zen.html

เซน -บางมิติ

เซน (ญี่ปุ่น: 禅, ぜん) หรือ นิกายเซน เป็นชื่อญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán) ในภาษาจีน ที่มาจากภาษาบาลีอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหมายถึง ฌาน หรือ การเข้าฌานของพุทธศาสนา
เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจาศาสนาพุทธนิกายเซน เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ
เซนเป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ 4 และ มรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอก ทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน

ลำดับพระสังฆปรินายกฝ่ายเซน

พระอริยสงฆ์สาวกผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดชี้ธรรม ด้วยวิถีแห่ง "จิต สู่ จิต" แต่ละรุ่นๆ จะได้รับมอบ บาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัญญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง
釋迦牟尼佛 พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
การถ่ายทอดธรรมดังกล่าวมีพระอริยเจ้าแต่ละสมัยรับช่วงสืบทอดกันลงมาโดยลำดับดังนี้
  1. 初祖訶迦葉尊者 พระมหากัสสปเถระ
  2. 二祖阿難陀尊者 พระอานนท์เถระ
  3. 三祖商那和修尊者 พระสันนวสะเถระ
  4. 四祖優婆□多尊者 พระอุปคุปด์เถระ
  5. 五祖提多迦尊者 พระธริตกเถระ
  6. 六祖彌遮迦尊者 พระมัจฉกะ
  7. 七祖婆須密尊者 พระวสุมิตรเถระ
  8. 八祖佛陀難提尊者 พระพุทธนันทิเถระ
  9. 九祖伏馱密多尊者 พระพุทธมิตรเถระ
  10. 十祖脅尊者 พระปารศวะเถระ
  11. 十一祖富那夜奢尊者 พระปุณยยศัสเถระ
  12. 十二祖馬鳴大士 พระอัศวโฆษ มหาโพธิสัตว์
  13. 十三祖迦毗摩羅尊者 พระกบิลเถระ
  14. 十四祖龍樹尊者 พระนาคารชุน มหาโพธิสัตว์
  15. 十五祖迦那提婆尊者 พระคุณเทวเถระ
  16. 十六祖羅侯羅多尊者 พระราหุลตเถระ
  17. 十七祖僧伽難提尊者 พระสังฆนันทิเถระ
  18. 十八祖伽耶舍多尊者 พระสังฆยศัสเถระ
  19. 十九祖鳩摩羅多尊者 พระกุมารตเถระ
  20. 二十祖闍夜多尊者 พระชยเถระ
  21. 二十一祖婆修盤頭尊者 พระวสุพันธุเถระ
  22. 二十二祖摩拏羅尊者 พระมนูรเถระ
  23. 二十三祖鶴勒那尊者 พระฮักเลนยศัสเถระ
  24. 二十四祖師子尊者 พระสินหเถระ
  25. 二十五祖婆舍斯多尊者 พระวสิอสิตเถระ
  26. 二十六祖不如密多尊者 พระปุณยมิตรเถระ
  27. 二十七祖般若多羅尊者 พระปรัชญาตาระ
  28. 二十八祖菩提達磨大師 พระโพธิธรรม
โดย ลำดับที่ 28 (สายชมพูทวีป) คือพระโพธิธรรม เมื่อท่านเดินทางเผยแพร่พุทธศาสนาเข้าสู่จีน ที่นี่เองการอ่านชื่อออกเสียงว่า "โพธิธรรม" หรือ "โบ-ตะ-มะ" ที่คนไทยรู้จักกันในนาม "ตั๊กม้อ" ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งวัดเส้าหลิน นับเป็นพระสังฆปรินายกฝ่ายเซนองค์แรกในจีน ต่อมาเมื่อสืบทอดพระสังฆปรินายกองค์ที่ 3 (ฝ่ายจีน) จึงได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ(การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

๒๑ สิ่งที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

๒๑ วิธีที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

1. ใช้ ๓ กล่องเพื่อจัดการสิ่งต่างๆ เสมอ  -ทิ้ง  บริจาค เก็บ
2. กำหนดเวลา ที่ใช้สมาธิ  8-10 a.m.
3. ทำ short-list.ในสิ่งที่คุณชอบมากที่สุด 4-5 อย่าง (เขียนหนังสือ - อ่าน- วิ่ง -ใช้ชีวิตกับครอบครัว) กำจัดสิ่งที่ไม่อยู่ใน  short list,
4. ไม่รับคำเชิญหรือคำร้องขอทั้งหมดใน ๑ สัปดาห์ เลื่อนไปวันอื่นบ้าง
5. มีตารางงานน้อยที่สุด  (ปฏิเสธนัด -หรือเลื่อนนัดเป็นวันอื่น พยายามทำวันให้ว่างที่สุด )
6. ทำงานครั้งละ ๑ อย่างเท่านั้น
7. เริ่มวันใหม่ด้วยตวามสงบ (วิ่ง เดิน ทำสมาธิ)
8. กินเพียง ๗ อย่าง  -ไม่กินอาหารสำเร็จรูป  -กินเพียงแค่ ๗ อย่าง คือ ผลไม้ ผัก  whole grains, lean protein, lean calcium, ถั่วเหลือง ถั่ว  ทำอาหารกินเองแต่อย่าให้ยุ่งยาก
9. ไม่ใช้กระดาษ  -ประหยัดการจัดเก็บ - การค้นหา -ประหยัดพื้นที่ -ทำให้งานสำนักงานง่ายขึ้น -รักษาต้นไม้  วิธีการ (๑) ยืนยันว่า ทุกอย่างจะต้องส่งมาทาง email หรือทางอิเลก็ทรอนิกส์  สร้างระบบการจัดเก็บเอกสาร   เอกสารให้ scan เก็บไว้  (แต่ให้น้อยที่สุด )
10. ไม่เป็นทาสสื่อ (cable TV, DVDs, newspapers and magazines, Internet news and the like)
11. จำกัดทำงานเพียง ๓ อย่างต่อวันก่อนงานอื่น (งานสำคัญ เร่งด่วน ที่มีผลต่อชีวิตอย่างสำคัญ)
12. จำกัดทำงานเพียงโครงการเดียวต่อครั้ง
13. หลัก ๕  -emails ส่ง ๕ ฉบับต่อวัน  -เลือกเฉพาะที่สำคัญ ที่เหลือลบทิ้ง -ไม่จำต้องตอบทั้งหมด -ตอบครั้งละไม่เกิน ๕ บรรทัด (ทำให้  emails สั้น ตรงประเด็น )
14. กฎ ๓๐ วัน  - อยากได้อะไร  จะต้องจดเขียนไว้ในรายการก่อน ๓๐ วัน  หลังจาก ๓๐ วัน ถ้ายังต้องการ  ถึงจะซื้อ  (แต่ไม่รวมสิ่งที่จำเป็น) 
15. ใส่เสื้อผ้าในโทนสีไม่กี่สี (ดำ น้ำเงิน เทา เขียว น้ำตาล)
16. เข้า ๑ ออก ๒ -เอาของเข้าบ้าน ๑ ต้องเอาออก ๒
17. อาทิตย์หนึ่งทำงานเพียง ๔ วัน  ๖-๘ ชั่วโมงต่อวัน  
18. เกษียนแต่เนิ่นๆ  
19. เก็บของให้น้อย -จำกัดพื้นที่เก็บของ  ใช้โต๊ะทำงานที่ไม่มีลิ้นชัก
20. จำกัด information ที่เข้ามา