วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ค่าแท้จริงของคน

   ยังมีศิษย์เซนผู้หนึ่ง เฝ้าพร่ำถามอาจารย์เซนทุกวันว่า “สิ่งใดคือคุณค่าที่แท้จริงของคนเรา?”
      
       วันหนึ่ง อาจารย์เซนเดินออกมาจากห้องพร้อมกับก้อนหินหนึ่งก้อน จากนั้นเอ่ยกับศิษย์เจ้าปัญหาว่า “เจ้าจงเอาก้อนหินก้อนนี้ไปเร่ขายยังท้องตลาด แต่ไม่จำเป็นต้องขายออกไปจริงๆ เพียงแค่ทำให้มีผู้มาเสนอราคาขอซื้อก็เพียงพอแล้ว ลองดูสิว่าตลาดจะให้ราคาของก้อนหินก้อนนี้เท่าไหร่”
      
       ศิษย์เซนนำก้อนหินไปเร่ขายยังท้องตลาด มีคนเห็นว่าหินก้อนนี้ทั้งใหญ่และเรียบสวย จึงให้ราคา 2 ตำลึง อีกผู้หนึ่งเห็นว่าหินก้อนนี้น่าจะนำไปทำเป็นลูกกลิ้งหรือลูกตุ้มถ่วง น้ำหนักได้อย่างดี จึงให้ราคาถึง 10 ตำลึง หลังจากนั้น แม้ว่าจะมีผู้แวะเวียนเข้ามาชมดูก้อนหินมากมาย แต่ราคาที่สูงสุดที่ได้จากท้องตลาดคือ 10 ตำลึง
      
       เมื่อศิษย์เซนนำก้อนหินกลับมายังวัด ก็ถ่ายทอดเรื่องราวที่ตนเร่ขายก้อนหินธรรมดาๆ จนได้ราคาถึง 10 ตำลึงให้อาจารย์ฟังด้วยความยินดียิ่ง
      
       เมื่อฟังจบ อาจารย์เซนเพียงแต่กล่าวว่า “เจ้าจงนำหินก้อนนี้ไปเร่ขายอีกครั้ง ยังตลาดค้าทอง”
      
       ศิษย์เซนจึงเดินทางไปยังตลาดค้าทอง จากนั้นนำก้อนหินออกมาเร่ขาย คราวนี้เพียงแค่เริ่มต้นก็มีผู้เสนอราคาก้อนหินถึง 1 พันตำลึง จากนั้นราคาก็ขึ้นมาเป็น 1 หมื่นตำลึง และสุดท้ายจบลงที่ราคา สิบหมื่นตำลึง
      
       เมื่อศิษย์เซนเห็นผลลัพธ์เกินความคาดหมายถึงเพียงนั้น จึงรีบกลับมารายงานอาจารย์เซน ทว่าอาจารย์เซนเพียงกล่าวว่า “พรุ่งนี้เจ้าจงนำก้อนหินก้อนนี้ไปเร่ขายยังตลาดค้าเพชรพลอย ซึ่งเป็นตลาดระดับสูงที่สุดดู”
      
       เมื่อศิษย์เซนนำก้อนหินไปเร่ขายตามคำสั่งของอาจารย์ พบว่าราคาของก้อนหินขึ้นพรวดพราดไปเรื่อยๆ จากสิบหมื่นตำลึง ยี่สิบหมื่นตำลึง สามสิบหมื่นตำลึง จนกระทั่งมีผู้เข้าใจว่าที่ศิษย์เซนยังไม่ยอมตกลงใจขายก้อนหินเป็นเพราะยัง ไม่ได้ราคาเหมาะสม จึงเสนอให้ตั้งราคาขึ้นมาเองตามใจชอบอย่างไม่อั้นได้เลยว่าจะขายที่ราคาเท่า ไหร่ ศิษย์เซนได้แต่อธิบายต่อผู้คนที่สนใจซื้อก้อนหินว่าตนทำตามคำสั่งอาจารย์ มิอาจขายก้อนหินออกไปจริงๆ ได้ จากนั้นจึงเดินทางกลับวัด พร้อมทั้งบอกอาจารย์เซนว่า "ตอนนี้ราคาของก้อนหินพุ่งขึ้นไปถึงหลักสิบหมื่นตำลึงแล้ว”
      
       เมื่ออาจารย์เซนฟังจบ จึงกล่าวว่า “นั่นก็ใช่แล้ว ที่ข้าไม่อาจสั่งสอนเจ้าได้ว่าชีวิตมีคุณค่าเพียงใด ก็เพราะนั่นจะเป็นการตีราคาชีวิตของเจ้าโดยผ่านมุมมองภายนอกไม่ต่างจากการตี ราคาก้อนหิน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วคุณค่าของมนุษย์ทุกคนล้วนต้องกระจ่างอยู่ภายในจิตใจของ คนผู้นั้นเอง จงมีสายตาแหลมคมดั่งนักค้าเพชรพลอยเสียก่อน จึงจะสามารถเห็นซึ้งถึงคุณค่าที่แท้จริงของคนเรา”
      
       ปัญญาเซน : มนุษย์ ทุกคนล้วนมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง จงตระหนักในคุณค่าแห่งตน ยอมรับตนเอง ฝึกฝนตนเอง ให้ช่องว่างกับตัวเองได้เติบโต ทุกคนล้วนสามารถกลายเป็นสิ่งมีค่าอันประเมินมิได้ ทุกขวากหนาม ทุกความเจ็บปวด ทุกความพ่ายแพ้ล้วนแล้วแต่มีความหมายอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนเรา
      
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น